เปิดตัว

สวัสดีครับ สมาชิกทุกท่านวันนี้เป็นวันแรกสำหรับการเปิดตัวบล็อก Popkruthai ซึ่งทางผมพยายามรวบรวมผลงานจากทุกทุกที่มาเผยแพร่และตัวกระผมเองก็ต้องขอ อนุญาตเจ้าของผลงานทุกท่านที่ผมนำเสนอไว้ ณ ที่นี้ด้วยที่ตัวนำมาเผยแพร่ต่อโดยทั้งที่บอกกล่าวและไม่บอกกล่าว ถ้าเจ้าของผลงานท่านใดไม่ต้องการให้เผยแพร่ต่อกรุณาแจ้งทันทีครับ
ผมขอขอบคุณอาจารย์และนักการศึกษาที่ท่านที่เข้ามาชมและทำการแสดงความคิดเห็นทุกท่าน

ประกาศ

ประกาศครับ ทุกท่านสามารถโพสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการได้เลยครับ ที่กระดานข่าว
สมัครสมาชิกก่อนนะครับ

ประกาศ นักการศึกษาหรือผู้ชมท่านใดต้องการแสดงความคิดเห็นก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ tataarbo@gmail.com ขอบคุณครับ

กระดานเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

รายการวันนี้

Sunday 15 November 2009

รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนบ้านจันทร์เพ็ญ

. Sunday 15 November 2009
0 ความคิดเห็น


ชื่อเรื่อง             รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  
                         โรงเรียนบ้านจันทร์เพ็ญ
ผู้รายงาน           นางนวลจันทร์ งอยผาลา
ปีการศึกษา       2551


บทคัดย่อ

การพัฒนาแบบฝึกทักษะเรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านจันทร์เพ็ญ มีความมุ่งหมายดังนี้ 

1. เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริม ทักษะ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านจันทร์เพ็ญ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนบ้านจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร จำนวน 37 คน จาก 1 ห้องเรียน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือ 
1. แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านจันทร์เพ็ญ จำนวน 8 เล่ม 
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
3. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนโรงเรียนบ้านจันทร์เพ็ญ ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples)

ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โรงเรียนบ้านจันทร์เพ็ญ มีประสิทธิภาพ 81.63/83.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านจันทร์เพ็ญ ก่อนเรียนและ
หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ พบว่า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนโรงเรียนบ้านจันทร์เพ็ญ ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
จากผลการศึกษาครั้งนี้จะเห็นได้ว่า แบบฝึกเสริมทักษะ เป็นสื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ที่สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เรียน เพราะมีขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสม นักเรียนได้สร้าง องค์ความรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นและสนใจเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ แสดงว่าแบบฝึกเสริมทักษะ ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้นสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนได้
อย่างมีประสิทธิภาพ

Klik disini untuk melanjutkan »»

การพัฒนาสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)วิชาคณิตศาสตร์เรื่องอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ

.
0 ความคิดเห็น

ชื่อเรื่อง            การพัฒนาสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)   วิชาคณิตศาสตร์    
                        เรื่องอัตราส่วน  สัดส่วน  และร้อยละ  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2
             โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร 
ชื่อผู้ศึกษา        นายสมบัติ  เฉยไสย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ   พัฒนาสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) วิชาคณิตศาสตร์  เรื่องอัตราส่วน  สัดส่วน  และร้อยละ  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร  กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/1  และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/2  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2551 โรงเรียนยางตลาด
วิทยาคาร  อำเภอยางตลาด  จังหวัดกาฬสินธุ์  จำนวน  48  คน  ได้มาโดยการสุ่มแบบง่าย  (Simple  Random  Simpling)  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  ได้แก่  แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่อง  อัตราส่วน  สัดส่วน และร้อยละ   บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  (CAI)  เรื่องอัตราส่วน  สัดส่วน และร้อยละ   แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ก่อนเรียนและหลังเรียน)   และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ ร้อยละคะแนนเฉลี่ย   และ  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า  นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ  20.52  คิดเป็นร้อยละ  82.08  สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน  ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  9.50  คิดเป็นร้อยละ 38   ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังเรียนเท่ากับ  1.91  น้อยกว่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนเรียน  ซึ่งมีค่าเท่ากับ  2.19    บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องอัตราส่วน  สัดส่วน  และร้อยละ   ชุดนี้  เป็นสื่อการเรียนการสอน  ที่มีประสิทธิภาพ  (E1/E2)   เท่ากับ  83.15/82.08 
              ดังนั้น  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)  ชุดนี้  จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาทักษะการคิดคำนวณ    และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนให้สูงขึ้น 
และจากการที่เด็กนักเรียนกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามความคิดเห็น  ที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน   ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า  ชอบเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เพราะเห็นเป็นความแปลกใหม่  ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย  ต้องการให้มีการเรียนการสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ทำให้เข้าใจเนื้อหาในบทเรียนได้ดี  ต้องการให้นักเรียนคนอื่นๆและตนเอง  ได้มีโอกาสเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในวิชานี้  และ วิชาอื่นๆ  อีกต่อไป

Klik disini untuk melanjutkan »»

รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) เรื่อง สวัสดิภาพในชีวิต ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

.
0 ความคิดเห็น

ชื่อเรื่อง:          รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ        
                            พลศึกษา (สุขศึกษา) เรื่อง สวัสดิภาพในชีวิต ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียนเมืองยาววิทยา อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
ผู้วิจัย:            นายประยูร   แลกันทะ
สังกัด:                 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง   เขต 1
ปีการศึกษา:        2550


บทคัดย่อ
               
                การศึกษาครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเมืองยาววิทยา อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง  เรื่อง สวัสดิภาพในชีวิต ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา เรื่อง             สวัสดิภาพในชีวิต   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเมืองยาววิทยา โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา
                ประชากรที่ศึกษาได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550โรงเรียนเมืองยาววิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง  เขต 1 จำนวน 25 คน
                เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย
                1. เอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง สวัสดิภาพในชีวิต จำนวน 3 เล่ม ได้แก่
                เล่มที่ 1 เรื่อง  เฉียดความเสี่ยง
                เล่มที่ 2  เรื่อง  หลีกเลี่ยงอันตราย
                เล่มที่ 3  เรื่อง  สุขภาพกับสารเสพติด
                2.. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง สวัสดิภาพในชีวิต  เป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91
                การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ศึกษาได้ดำเนินการทดสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเรื่อง สวัสดิภาพในชีวิต ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น จำนวน 20 ข้อ และดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดทำขึ้น ควบคู่กับเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง       สวัสดิภาพในชีวิต ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นจำนวน 3 เล่ม 3 เรื่อง  และหลังจากนั้นจึงทดสอบหลังเรียนโดยใช้แบบทดสอบชุดเดิม เสร็จแล้วนำมาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน
               
                ผลการวิจัยพบว่า
                1.  เอกสารประกอบการเรียนสาระการเรียนรู้สุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง        สวัสดิภาพในชีวิต มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 82.00/87.40 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือ  80/80
                2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้เอกสารประกอบการเรียนสูงกว่าก่อนใช้  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05

Klik disini untuk melanjutkan »»

Saturday 14 November 2009

รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ สาระการเรียนรู้ ศิลปะ (สาระดนตรี)

. Saturday 14 November 2009
0 ความคิดเห็น

ชื่อเรื่อง     รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
               สาระการเรียนรู้ ศิลปะ (สาระดนตรี)
ผู้รายงาน   นายสุทิน ไชยนา
หน่วยงาน   โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์) สำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร
ปีที่ศึกษา    พ.ศ. 2550

บทคัดย่อ


การศึกษารายงานครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 
(1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 
(2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่สอนโดยใช้แบบฝึกปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์ และกลุ่มที่สอนโดยใช้หนังสือเรียนวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ ของ พว. และ 
(3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะขลุ่ยรี คอร์เดอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษารายงานครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบางชัน(ปลื้มวิทยานุสรณ์) สำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร จำนวน 80 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย 


เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ 
(1) แบบฝึกทักษะปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ใช้เวลาในการทดลอง 18 ชั่วโมง (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ ค่าความยากระหว่าง 0.53-0.65 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.25-0.45 และ 
(3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะปฏิบัติขลุ่ย รีคอร์เดอร์ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติโดยใช้ t-test (Dependent Samples) ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า แบบฝึกทักษะปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.15/82.08 นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยของผู้เรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้ หนังสือเรียนวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ ของ พว. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะปฏิบัติขลุ่ยรี คอร์เดอร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยสรุปแบบฝึกทักษะปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ทำให้นักเรียนรู้สึกกระตือรือร้นต่อการเรียน เรื่องทฤษฎีดนตรีสากลขั้นพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล สามารถนำไปใช้ได้ เป็นแนวทางในการศึกษาเพื่อพัฒนาในเนื้อหาและรายวิชาอื่นต่อไป

Klik disini untuk melanjutkan »»

การพัฒนากระบวนการคิดเพื่อเขียนเรียงความโดยใช้แผนที่ความคิด สาระภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

.
0 ความคิดเห็น

ชื่อเรื่อง       การพัฒนากระบวนการคิดเพื่อเขียนเรียงความโดยใช้แผนที่ความคิด สาระภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร
ผู้รายงาน      นายไพรัช เหลืองอิงคะสุต
โรงเรียน       โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู


บทคัดย่อ

การสอนทักษะการเขียนเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะอย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นทักษะ
ที่ค่อนข้างยาก ปัญหาสำคัญอยู่ที่การขาดความรู้ ประสบการณ์ ความช่างสังเกต ความคิด
การใช้ภาษา และขาดการฝึกฝน แม้ว่าผู้เขียนจะมีพื้นฐานของการเป็นผู้เขียนที่ดีดังกล่าวแล้วทั้งหมด
แต่ถ้าไม่คิดริเริ่มที่จะเขียนและฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ก็คงไม่อาจเป็นผู้เขียนที่ดีได้ เพราะการฝึกฝน
ย่อมช่วยเพิ่มพูนทักษะการเขียนให้ดีขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งนับได้ว่าการเขียนเพื่อพัฒนาการเขียน
หรือเป็นการใช้กระบวนการเขียนพัฒนางานเขียน ทั้งยังเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการเขียนอีกด้วย
การฝึกฝนให้มีกระบวนการคิดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งที่ทำได้ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะทักษะการเขียน
ประเภทเรียงความ จึงเป็นหน้าที่ของครูภาษาไทยที่จะต้องคิดหากลวิธีการสอนและเครื่องมือ
ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อฝึกฝนทักษะการเขียนเรียงความของนักเรียน เพราะผลงานด้านการเขียน
เรียงความของนักเรียน คือการแสดงความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ภาษา ดังนั้น ผู้รายงานจึงได้
พัฒนาการเรียนรู้เรื่องขั้นตอน การวางแผนการเขียนเรียงความ สาระภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 โดยใช้แผนที่ความคิด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนากระบวนการคิดเพื่อเขียนเรียงความ
โดยการใช้แผนที่ความคิด สาระภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มผู้ร่วมในการรายงานการพัฒนาได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน
หนองบัวพิทยาคาร อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 165 คน เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา
ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 6 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่
บันทึกการแสดงความคิดเห็นของผู้เรียนจากการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งกำหนดประเด็น
ในการเขียนแสดงความคิดเห็นไว้ 5 ประเด็น ดังนี้ ความรู้ที่ได้รับ ประโยชน์/การนำไปใช้
กระบวนการ/ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ปัญหา/อุปสรรค/การแก้ไข และความคิดเห็นเพิ่มเติม
และแต่ละประเด็นกำหนดให้ใช้เขียนใน 1 ย่อหน้า บันทึกการปฏิบัติงานของครู และแบบวัด
ความพึงพอใจของผู้เรียน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการเรียนการสอน ได้แก่
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนเรียงความ การพัฒนาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
มีขั้นตอนการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนกำหนดแผนปฏิบัติการ ขั้นตอนปฏิบัติการ ขั้นสังเกต
และขั้นสะท้อนการปฏิบัติ นำข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติในแต่ละวงรอบมาวิเคราะห์และใช้ปรับแผน
ในการพัฒนาวงรอบต่อไป


ผลการศึกษาพบว่า
ในการพัฒนาวงรอบที่ 1 ผลคะแนนเรียงความของผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 69.33
โดยนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 66.66 ในการพัฒนาวงรอบที่ 2 ผลคะแนนเรียงความของผู้เรียน
มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 78.78 และมีผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ100 และในการปฏิบัติกิจกรรม
การเรียนรู้ในการพัฒนาวงรอบที่ 1 พบว่า การเตรียมตัวของผู้รายงานและผู้เรียนยังไม่พร้อม
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นเนื้อหาใหม่ ผู้เรียนส่วนใหญ่ยังไม่มีความสามารถในการเขียน
เรียงความจากประสบการณ์เรื่อง การเล่าเรื่องตนเองแบบร้อยแก้ว ให้ถูกต้องตามจุดประสงค์
การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ได้ เช่น การใช้ย่อหน้าในการเขียน ผลงานการเขียน “แก่นแกน” ของผู้เรียน
ยังมีสิ่งที่ยังต้องแก้ไขเป็นส่วนมาก เช่น การการกำหนดขนาด การใช้สี และการใช้อารมณ์ขัน
ผลงานการเขียนเล่าเรื่องตนเองโดยการใช้แผนที่ความคิด ของนักเรียนบางคนยังขาดความสมบูรณ์
ตามหลักการเขียนแผนที่ความคิด กลุ่มของผู้เรียนบางกลุ่มยังไม่ให้ความร่วมมือและไม่เห็นความสำคัญ
ในการปฏิบัติงานกลุ่ม ส่วนใหญ่จะมีการเกี่ยงกันในกลุ่มในการที่จะส่งตัวแทนออกไปรายงานผลสรุปหน้า ชั้นเรียน ผู้เรียนยังไม่สามารถเปรียบเทียบการเขียนเรียงความจากประสบการณ์เรื่อง
การเล่าเรื่องตนเอง กับการเล่าเรื่องตนเองโดยใช้แผนที่ความคิดได้ เนื่องจากไม่เข้าใจองค์ประกอบ
ของแผนที่ความคิดและองค์ประกอบของเรียงความเพียงพอ ผู้เรียนบางส่วนยังไม่สามารถเขียน
เรียงความได้ เมื่อได้ตรวจสอบการเขียนแผนที่ความคิดแล้วปรากฏว่าแผนที่ความคิดของผู้เรียน
“แก่นแกน” ที่ผู้เรียนเลือกนำมาเขียนนั้นเป็นเรื่องที่ไกลตัว ผู้เรียนเขียนข้อมูลในแผนที่ความคิด
แบบกระจัดกระจาย ไม่เป็นหมวดหมู่ จึงทำให้การเขียนเรียงความมีข้อมูลที่กระจัดกระจายไม่เป็น
หมวดหมู่ด้วย กิจกรรมการเขียนเรียงความพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่เขียนเรียงความโดยใช้องค์ ประกอบของเรียงความในรูปแบบที่เคยชิน คือ จะใช้องค์ประกอบสามส่วน คือ คำนำ เนื้อหา และสรุป
ซึ่งจะทำให้ตอนที่ 2 ส่วนที่เป็นเนื้อหานั้นมีความยาวมากไม่สามารถที่จะแบ่งเนื้อหาได้ชัดเจน ผู้เรียนได้เขียนแสดงความคิดเห็น ไม่เป็นระเบียบ การเขียนวกวน อ่านแล้วเข้าใจได้ยาก ในการพัฒนา
วงรอบที่ 2 ผลการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจในขั้นตอน
ของการเขียนแผนที่ความคิด สามารถเขียนแก่นแกน และแตกแขนงความคิดได้ถูกต้องตามหลักการ
การเขียนแผนที่ความคิด ผู้เรียนเข้าใจการเปรียบเทียบองค์ประกอบของแผนที่ความคิดกับองค์ประกอบ
ของเรียงความ จึงทำให้การเรียงลำดับข้อมูลการเขียนขยายความจากเรื่อง ส่งผลให้ผู้เรียนเขียน
เรียงความได้ดีขึ้น ส่วนคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนเรียงความสูงขึ้นคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 83.33
และผู้เรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้นการพัฒนากระบวนการคิดเพื่อเขียน
เรียงความ โดยใช้แผนที่ความคิด สามารถที่จะช่วยให้ผู้เรียนเขียนเรียงความได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มากขึ้น

Klik disini untuk melanjutkan »»

การพัฒนากระบวนการคิดเพื่อเขียนเรียงความโดยใช้แผนที่ความคิด สาระภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

.
0 ความคิดเห็น

ชื่อเรื่อง       การพัฒนากระบวนการคิดเพื่อเขียนเรียงความโดยใช้แผนที่ความคิด สาระภาษาไทย

                  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร
ผู้รายงาน       นายไพรัช เหลืองอิงคะสุต
โรงเรียน        โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

บทคัดย่อ

การสอนทักษะการเขียนเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะอย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นทักษะ
ที่ค่อนข้างยาก ปัญหาสำคัญอยู่ที่การขาดความรู้ ประสบการณ์ ความช่างสังเกต ความคิด
การใช้ภาษา และขาดการฝึกฝน แม้ว่าผู้เขียนจะมีพื้นฐานของการเป็นผู้เขียนที่ดีดังกล่าวแล้วทั้งหมด
แต่ถ้าไม่คิดริเริ่มที่จะเขียนและฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ก็คงไม่อาจเป็นผู้เขียนที่ดีได้ เพราะการฝึกฝน
ย่อมช่วยเพิ่มพูนทักษะการเขียนให้ดีขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งนับได้ว่าการเขียนเพื่อพัฒนาการเขียน
หรือเป็นการใช้กระบวนการเขียนพัฒนางานเขียน ทั้งยังเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการเขียนอีกด้วย
การฝึกฝนให้มีกระบวนการคิดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งที่ทำได้ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะทักษะการเขียน
ประเภทเรียงความ จึงเป็นหน้าที่ของครูภาษาไทยที่จะต้องคิดหากลวิธีการสอนและเครื่องมือ
ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อฝึกฝนทักษะการเขียนเรียงความของนักเรียน เพราะผลงานด้านการเขียน
เรียงความของนักเรียน คือการแสดงความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ภาษา ดังนั้น ผู้รายงานจึงได้
พัฒนาการเรียนรู้เรื่องขั้นตอน การวางแผนการเขียนเรียงความ สาระภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 โดยใช้แผนที่ความคิด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนากระบวนการคิดเพื่อเขียนเรียงความ
โดยการใช้แผนที่ความคิด สาระภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มผู้ร่วมในการรายงานการพัฒนาได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน
หนองบัวพิทยาคาร อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 165 คน เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา
ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 6 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่
บันทึกการแสดงความคิดเห็นของผู้เรียนจากการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งกำหนดประเด็น
ในการเขียนแสดงความคิดเห็นไว้ 5 ประเด็น ดังนี้ ความรู้ที่ได้รับ ประโยชน์/การนำไปใช้
กระบวนการ/ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ปัญหา/อุปสรรค/การแก้ไข และความคิดเห็นเพิ่มเติม
และแต่ละประเด็นกำหนดให้ใช้เขียนใน 1 ย่อหน้า บันทึกการปฏิบัติงานของครู และแบบวัด
ความพึงพอใจของผู้เรียน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการเรียนการสอน ได้แก่

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนเรียงความ การพัฒนาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
มีขั้นตอนการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนกำหนดแผนปฏิบัติการ ขั้นตอนปฏิบัติการ ขั้นสังเกต
และขั้นสะท้อนการปฏิบัติ นำข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติในแต่ละวงรอบมาวิเคราะห์และใช้ปรับแผน
ในการพัฒนาวงรอบต่อไป
ผลการศึกษาพบว่า
ในการพัฒนาวงรอบที่ 1 ผลคะแนนเรียงความของผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 69.33
โดยนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 66.66 ในการพัฒนาวงรอบที่ 2 ผลคะแนนเรียงความของผู้เรียน
มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 78.78 และมีผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ100 และในการปฏิบัติกิจกรรม
การเรียนรู้ในการพัฒนาวงรอบที่ 1 พบว่า การเตรียมตัวของผู้รายงานและผู้เรียนยังไม่พร้อม
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นเนื้อหาใหม่ ผู้เรียนส่วนใหญ่ยังไม่มีความสามารถในการเขียน
เรียงความจากประสบการณ์เรื่อง การเล่าเรื่องตนเองแบบร้อยแก้ว ให้ถูกต้องตามจุดประสงค์
การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ได้ เช่น การใช้ย่อหน้าในการเขียน ผลงานการเขียน “แก่นแกน” ของผู้เรียน
ยังมีสิ่งที่ยังต้องแก้ไขเป็นส่วนมาก เช่น การการกำหนดขนาด การใช้สี และการใช้อารมณ์ขัน
ผลงานการเขียนเล่าเรื่องตนเองโดยการใช้แผนที่ความคิด ของนักเรียนบางคนยังขาดความสมบูรณ์
ตามหลักการเขียนแผนที่ความคิด กลุ่มของผู้เรียนบางกลุ่มยังไม่ให้ความร่วมมือและไม่เห็นความสำคัญ
ในการปฏิบัติงานกลุ่ม ส่วนใหญ่จะมีการเกี่ยงกันในกลุ่มในการที่จะส่งตัวแทนออกไปรายงานผลสรุปหน้า ชั้นเรียน ผู้เรียนยังไม่สามารถเปรียบเทียบการเขียนเรียงความจากประสบการณ์เรื่อง
การเล่าเรื่องตนเอง กับการเล่าเรื่องตนเองโดยใช้แผนที่ความคิดได้ เนื่องจากไม่เข้าใจองค์ประกอบ
ของแผนที่ความคิดและองค์ประกอบของเรียงความเพียงพอ ผู้เรียนบางส่วนยังไม่สามารถเขียน
เรียงความได้ เมื่อได้ตรวจสอบการเขียนแผนที่ความคิดแล้วปรากฏว่าแผนที่ความคิดของผู้เรียน
“แก่นแกน” ที่ผู้เรียนเลือกนำมาเขียนนั้นเป็นเรื่องที่ไกลตัว ผู้เรียนเขียนข้อมูลในแผนที่ความคิด
แบบกระจัดกระจาย ไม่เป็นหมวดหมู่ จึงทำให้การเขียนเรียงความมีข้อมูลที่กระจัดกระจายไม่เป็น
หมวดหมู่ด้วย กิจกรรมการเขียนเรียงความพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่เขียนเรียงความโดยใช้องค์ ประกอบของเรียงความในรูปแบบที่เคยชิน คือ จะใช้องค์ประกอบสามส่วน คือ คำนำ เนื้อหา และสรุป
ซึ่งจะทำให้ตอนที่ 2 ส่วนที่เป็นเนื้อหานั้นมีความยาวมากไม่สามารถที่จะแบ่งเนื้อหาได้ชัดเจน ผู้เรียนได้เขียนแสดงความคิดเห็น ไม่เป็นระเบียบ การเขียนวกวน อ่านแล้วเข้าใจได้ยาก ในการพัฒนา
วงรอบที่ 2 ผลการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจในขั้นตอน
ของการเขียนแผนที่ความคิด สามารถเขียนแก่นแกน และแตกแขนงความคิดได้ถูกต้องตามหลักการ
การเขียนแผนที่ความคิด ผู้เรียนเข้าใจการเปรียบเทียบองค์ประกอบของแผนที่ความคิดกับองค์ประกอบ
ของเรียงความ จึงทำให้การเรียงลำดับข้อมูลการเขียนขยายความจากเรื่อง ส่งผลให้ผู้เรียนเขียน

เรียงความได้ดีขึ้น ส่วนคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนเรียงความสูงขึ้นคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 83.33
และผู้เรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้นการพัฒนากระบวนการคิดเพื่อเขียน
เรียงความ โดยใช้แผนที่ความคิด สามารถที่จะช่วยให้ผู้เรียนเขียนเรียงความได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มากขึ้น

Klik disini untuk melanjutkan »»

การพัฒนาการจัดการเรียนรู้สาระสุขศึกษาและพลศึกษาหน่วยที่ 4 พัฒนาทักษะกีฬาพัฒนา กำลัง(วอลเลย์บอล) โดยใช้แบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐาน

.
0 ความคิดเห็น

ชื่อเรื่อง     การพัฒนาการจัดการเรียนรู้สาระสุขศึกษาและพลศึกษาหน่วยที่ 4 พัฒนาทักษะกีฬาพัฒนา
               กำลัง(วอลเลย์บอล) โดยใช้แบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอลสำหรับนักเรียนชั้น
               ประถมศึกษาปี ที่ 5 โรงเรียนบ้านโคกกรม ปีการศึกษา 2550
ผู้ศึกษา/ค้นคว้า          อิสรา โสแก้ว
หน่วยงาน                 โรงเรียนบ้านโคกกรม ตำบลจีกแดก อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์
                              สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3
ปีการศึกษา                2550


บทคัดย่อ

รายงานการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สาระสุขศึกษาและพลศึกษา หน่วยที่ 4 พัฒนาทักษะกีฬาพัฒนากำลัง(วอลเลย์บอล) โดยใช้แบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5โรงเรียนบ้านโคกกรม ปีการศึกษา 2550 มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอล สำหรับนักเรียนชั้นระถมศึกษาปีที่ 5 ที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ 80/80 ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอลสำหรับนัก เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้เป็นสื่อหลักประกอบการเรียนการสอน ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอลสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้เป็นสื่อหลักประกอบการเรียนการสอน และ ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้เป็นสื่อหลักประกอบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโคกกรม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 23 คน ที่ได้มาโดยการเลือกทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ แบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนเป็นสื่อหลักที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC : Index of Item – Objective Congruence) (มนสิษ สิทธิสมบูรณ์. 2547. หน้า 110) เท่ากับ 0.96 แบบทดสอบความรู้พื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอลแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ ที่มีความยากง่ายตั้งแต่ 0.24 ถึง 0.76 อำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.48 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับด้วยวิธีของ คูเดอร์ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson procedure)โดยใช้สูตร KR.- 20 เท่ากับ 0.867 แบบทดสอบทักษะขั้นพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา(Content Validity)เท่ากับ 1.00 ซึ่งประกอบไปด้วย แบบทดสอบทักษะการเล่นลูกสองมือล่าง ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.829 ค่าความเป็นปรนัยเท่ากับ 0.821 แบบทดสอบทักษะการเสิร์ฟลูกมือล่าง ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.719 ค่าความเป็นปรนัยเท่ากับ 0.821 และแบบทดสอบทักษะการตบลูกบอลกระทบผนังที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.874 ค่าความเป็นปรนัยเท่ากับ 0.832 แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบมาตราประมาณค่า ชนิด 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.90 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ จากการวิเคราะห์ ตามวิธีของ ครอนบัค (Cronbach alpha procedure) เท่ากับ 0.716 แบบวัดความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬา วอลเลย์บอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบมาตราประมาณค่า ชนิด 5 ระดับจำนวน 10 ข้อ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับจากการวิเคราะห์ตามวิธีของ ครอนบัค (Cronbach alpha procedure) เท่ากับ 0.850 สถิตที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการพัฒนา ปรากฏผลดังนี้
1.  แบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 84.64/82.77 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
2.  ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.5440 หมายความว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนเท่ากับ 0.5440 หรือ คิดเป็นร้อยละ 54.40.
3.  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบการเรียนการสอนเป็นสื่อหลักในการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก
4.  ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬา วอลเลย์บอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบการเรียนการสอนเป็นสื่อหลักในการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด

Klik disini untuk melanjutkan »»

รายงานการใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง สมการ และการแก้สมการ

.
0 ความคิดเห็น

หัวข้อรายงาน             รายงานการใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้    
                                   คณิตศาสตร์เรื่อง สมการ และการแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6     
                                  ปีการศึกษา 2551   
ชื่อผู้เสนอรายงาน       นายเจน  สนิทวงศ์     ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการ         
                                  โรงเรียนอนุบาลเถิน(ท่านางอุปถัมภ์)  อำเภอเถิน  จังหวัดลำปาง       
                                   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง   เขต  2    

บทคัดย่อ

                 การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดแบบฝึกทักษะพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้  คณิตศาสตร์เรื่อง สมการ และการแก้สมการ                        ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 80/80  ศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนกลุ่มสาระ      การเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการ และการแก้สมการ ของนักเรียนที่ใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้  คณิตศาสตร์เรื่อง สมการ และการแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ ศึกษาหาระดับความสนใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาผล สัมฤทธิ์การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องสมการ และการแก้สมการชั้นประถมศึกษา   ปีที่ 6  กลุ่มทดลองเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนอนุบาลเถิน (ท่านางอุปถัมภ์)         อำเภอเถิน  จังหวัดลำปาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง   เขต  2   จำนวน  1  ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น  30   คน กลุ่มตัวอย่างได้รับการสอนโดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้  คณิตศาสตร์เรื่อง สมการ และการแก้สมการ  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้ วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และหาค่าทางสถิติได้แก่ค่าประสิทธิภาพชุดแบบฝึกทักษะพัฒนาผลสัมฤทธิ์การ เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้  คณิตศาสตร์เรื่อง สมการ และการแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ความยากง่ายของแบบทดสอบและค่าเฉลี่ยร้อยละของความถึงพอใจ โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม Statistical Package for the Social Science/Personal Computer Plus (SPSS/PC+)  

ผลการวิจัยพบว่า  

ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้  คณิตศาสตร์เรื่อง สมการ และการแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีประสิทธิภาพ 83.53/82.10 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้  และผลสัมฤทธิ์การเรียน เรื่อง สมการ และการแก้สมการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ภายหลังการใช้  ชุดแบบฝึกทักษะพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้  คณิตศาสตร์เรื่อง สมการ และการแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  สูงกว่าก่อนการใช้ชุดแบบฝึกทักษะพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้  คณิตศาสตร์เรื่อง สมการ และการแก้สมการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ระดับความสนใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้  คณิตศาสตร์เรื่อง สมการ และ การแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีความสนใจอยู่ในระดับมาก

Klik disini untuk melanjutkan »»

การพัฒนาชุดการสอน เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม รหัสวิชา ค 43201

.
0 ความคิดเห็น

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่องงานวิจัย:  การพัฒนาชุดการสอน  เรื่อง  การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น  กลุ่มสาระการเรียนรู้ 

                            คณิตศาสตร์  รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม  รหัสวิชา ค 43201  ของนักเรียนชั้นมัธยม
                            ศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนผักไหมวิทยานุกูล  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ  เขต 2
ชื่อผู้วิจัย             :  นางสาวปรีดาภรณ์  จันทร์สว่าง
ปีการศึกษา         :  2551

   การ วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  คือ 

1)  เพื่อสร้างชุดการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม  รหัสวิชา ค 43201  เรื่อง  การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น  
2)  เพื่อหาประสิทธิภาพชุดการสอน  รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม  รหัสวิชา  ค 43201  เรื่อง  การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น  
3)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอน  รายวิชา  ค 43201  เรื่อง  การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น
   เครื่องมือในการวิจัย ครั้งนี้  ประกอบด้วย  ชุดการสอนประเภทศูนย์การเรียน  และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ซึ่งมีการตรวจสอบคุณภาพของชุดการสอนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน  75/75
   การ ดำเนินการวิจัย  ประกอบด้วย  3  ขั้นตอน  คือ  

1)  การทดลองขั้นหนึ่งต่อหนึ่ง  
2)  การทดลองขั้นกลุ่มเล็ก  
3)  การทดลองขั้นกลุ่มใหญ่  เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  จำนวน 62  คน  เพื่อนำมาหาประสิทธิภาพ  หลังจากนั้นจึงนำชุดการสอนมาทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างในการทดลองครั้งนี้  ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1  จำนวน 32   คน  การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย  โดยวิธีจับฉลาก  เมื่อทดลองเสร็จแล้ว  นำคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนมาเปรียบเทียบความแตกต่าง
   ผลการวิจัยพบ ว่า 

1)  ชุดการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม  รหัสวิชา  ค 43201  เรื่อง  การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น  ที่ใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนผักไหมวิทยานุกูล  มีประสิทธิภาพ  82.33/83.50  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน  75/75  
2)  นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอน  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทีระดับ .05

Klik disini untuk melanjutkan »»

รายงานการใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม The Geometer’s Sketchpadในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เรื่องพาราโบลา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

.
0 ความคิดเห็น

 ชื่อเรื่อง       รายงานการใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad   

              ในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เรื่องพาราโบลา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
            โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม
ชื่อผู้รายงาน  นายพีระพงศ์  สิรสุนทร
ปีที่รายงาน   2550


บทคัดย่อ



                      การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม   The Geometer’s Sketchpad   ในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์   เรื่องพาราโบลา     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อการใช้สื่อการเรียนรู้
                      กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์- คณิตศาสตร์ โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โดยให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 เรียนรวมทั้งสิ้น 59 คน   เครื่องมือที่ใช้ในการรายงานได้แก่      สื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad ในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เรื่องพาราโบลา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบทดสอบวัดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เรื่องพาราโบลา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบอัตนัย จำนวน 10 ข้อ และแบบปรนัยจำนวน 10 ข้อแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนจากการใช้สื่อการเรียนรู้การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยทำแบบทดสอบวัดความคิดรวบยอด และแบบสอบถามความคิดเห็น
หลังจากเรียน เรื่องพาราโบลา โดยใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad 
วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที
               ผลการรายงานพบว่า
           1)สื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad ในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เรื่องพาราโบลา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  มีประสิทธิภาพ 84.58/82.41 
 สูงกว่าเกณฑ์ 70/70 ที่กำหนดไว้                  
          2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องพาราโบลา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 
หลังจากการเรียนโดยใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม  The Geometer’s Sketchpad ในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
           3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทำแบบทดสอบหลังการเรียน โดยใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad ในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เรื่องพาราโบลา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าเกณฑ์ 70% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 
       4)ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad  ในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์  เรื่องพาราโบลา  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก

Klik disini untuk melanjutkan »»

รายงานผลการพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

.
0 ความคิดเห็น

บทคัดย่อ
หัวข้อวิจัย          รายงานผลการพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
                       โรงเรียนวัดวังสวัสดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 1
ผู้วิจัย                ปรารถนา เหมือนเตย
ปีการศึกษา         2551




การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 เล่ม เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน จำนวน 5 เล่ม โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้หนังสือส่องเสริมการอ่าน เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ซึ่ง กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนวัดวังสวัสดี จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ หนังสือส่งเสริมการอ่าน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และหาค่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบแผนการทดลองโดยใช้กลุ่มเดียวทดสอบก่อน - หลัง (One - Group Pretest- Posttest Design) (t-test) วิเคราะห์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS for Windows




ผลการศึกษาพบว่า


ด้านประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่ผู้รายงานสร้างขึ้น ผลการศึกษาพบว่ามีประสิทธิภาพ 87.20/94.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ระดับ 80/80
ด้าน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยหลังเรียนนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 23.50 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการทดสอบค่าที (t - test) พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ อาจเป็นเพราะผู้รายงานมีการวางแผนมุ่งเน้น การ เรียนการสอนโดยยืดผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านให้เกิดความน่าสนใจตั้งแต่รูปเล่มจนถึงภาพ ประกอบเนื้อหาสีสันสวยงามน่าอ่าน และคอยเอาใจใส่แนะนำส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตน
ด้านความ พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่านพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่าน อยู่ในระดับดีมากทุกข้อ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน

Klik disini untuk melanjutkan »»
 
Namablogkamu is proudly powered by Blogger.com | Template by o-om.com | Gorgeous Beaches of Goa