เปิดตัว

สวัสดีครับ สมาชิกทุกท่านวันนี้เป็นวันแรกสำหรับการเปิดตัวบล็อก Popkruthai ซึ่งทางผมพยายามรวบรวมผลงานจากทุกทุกที่มาเผยแพร่และตัวกระผมเองก็ต้องขอ อนุญาตเจ้าของผลงานทุกท่านที่ผมนำเสนอไว้ ณ ที่นี้ด้วยที่ตัวนำมาเผยแพร่ต่อโดยทั้งที่บอกกล่าวและไม่บอกกล่าว ถ้าเจ้าของผลงานท่านใดไม่ต้องการให้เผยแพร่ต่อกรุณาแจ้งทันทีครับ
ผมขอขอบคุณอาจารย์และนักการศึกษาที่ท่านที่เข้ามาชมและทำการแสดงความคิดเห็นทุกท่าน

ประกาศ

ประกาศครับ ทุกท่านสามารถโพสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการได้เลยครับ ที่กระดานข่าว
สมัครสมาชิกก่อนนะครับ

ประกาศ นักการศึกษาหรือผู้ชมท่านใดต้องการแสดงความคิดเห็นก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่ tataarbo@gmail.com ขอบคุณครับ

กระดานเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

รายการวันนี้

Sunday 15 November 2009

รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนบ้านจันทร์เพ็ญ

. Sunday 15 November 2009
0 ความคิดเห็น


ชื่อเรื่อง             รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  
                         โรงเรียนบ้านจันทร์เพ็ญ
ผู้รายงาน           นางนวลจันทร์ งอยผาลา
ปีการศึกษา       2551


บทคัดย่อ

การพัฒนาแบบฝึกทักษะเรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านจันทร์เพ็ญ มีความมุ่งหมายดังนี้ 

1. เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริม ทักษะ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านจันทร์เพ็ญ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนบ้านจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร จำนวน 37 คน จาก 1 ห้องเรียน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือ 
1. แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านจันทร์เพ็ญ จำนวน 8 เล่ม 
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
3. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนโรงเรียนบ้านจันทร์เพ็ญ ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples)

ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โรงเรียนบ้านจันทร์เพ็ญ มีประสิทธิภาพ 81.63/83.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านจันทร์เพ็ญ ก่อนเรียนและ
หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ พบว่า มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนโรงเรียนบ้านจันทร์เพ็ญ ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
จากผลการศึกษาครั้งนี้จะเห็นได้ว่า แบบฝึกเสริมทักษะ เป็นสื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ที่สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เรียน เพราะมีขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสม นักเรียนได้สร้าง องค์ความรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นและสนใจเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ แสดงว่าแบบฝึกเสริมทักษะ ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้นสามารถนำไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนได้
อย่างมีประสิทธิภาพ

Klik disini untuk melanjutkan »»

การพัฒนาสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)วิชาคณิตศาสตร์เรื่องอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ

.
0 ความคิดเห็น

ชื่อเรื่อง            การพัฒนาสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)   วิชาคณิตศาสตร์    
                        เรื่องอัตราส่วน  สัดส่วน  และร้อยละ  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2
             โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร 
ชื่อผู้ศึกษา        นายสมบัติ  เฉยไสย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ   พัฒนาสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) วิชาคณิตศาสตร์  เรื่องอัตราส่วน  สัดส่วน  และร้อยละ  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2  โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร  กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/1  และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/2  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2551 โรงเรียนยางตลาด
วิทยาคาร  อำเภอยางตลาด  จังหวัดกาฬสินธุ์  จำนวน  48  คน  ได้มาโดยการสุ่มแบบง่าย  (Simple  Random  Simpling)  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  ได้แก่  แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่อง  อัตราส่วน  สัดส่วน และร้อยละ   บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  (CAI)  เรื่องอัตราส่วน  สัดส่วน และร้อยละ   แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ก่อนเรียนและหลังเรียน)   และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ ร้อยละคะแนนเฉลี่ย   และ  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า  นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ  20.52  คิดเป็นร้อยละ  82.08  สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน  ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  9.50  คิดเป็นร้อยละ 38   ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังเรียนเท่ากับ  1.91  น้อยกว่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนเรียน  ซึ่งมีค่าเท่ากับ  2.19    บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องอัตราส่วน  สัดส่วน  และร้อยละ   ชุดนี้  เป็นสื่อการเรียนการสอน  ที่มีประสิทธิภาพ  (E1/E2)   เท่ากับ  83.15/82.08 
              ดังนั้น  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)  ชุดนี้  จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาทักษะการคิดคำนวณ    และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนให้สูงขึ้น 
และจากการที่เด็กนักเรียนกลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามความคิดเห็น  ที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน   ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า  ชอบเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เพราะเห็นเป็นความแปลกใหม่  ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย  ต้องการให้มีการเรียนการสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ทำให้เข้าใจเนื้อหาในบทเรียนได้ดี  ต้องการให้นักเรียนคนอื่นๆและตนเอง  ได้มีโอกาสเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในวิชานี้  และ วิชาอื่นๆ  อีกต่อไป

Klik disini untuk melanjutkan »»

รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา) เรื่อง สวัสดิภาพในชีวิต ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

.
0 ความคิดเห็น

ชื่อเรื่อง:          รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ        
                            พลศึกษา (สุขศึกษา) เรื่อง สวัสดิภาพในชีวิต ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
โรงเรียนเมืองยาววิทยา อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
ผู้วิจัย:            นายประยูร   แลกันทะ
สังกัด:                 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง   เขต 1
ปีการศึกษา:        2550


บทคัดย่อ
               
                การศึกษาครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเมืองยาววิทยา อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง  เรื่อง สวัสดิภาพในชีวิต ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา เรื่อง             สวัสดิภาพในชีวิต   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเมืองยาววิทยา โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา
                ประชากรที่ศึกษาได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550โรงเรียนเมืองยาววิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง  เขต 1 จำนวน 25 คน
                เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย
                1. เอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง สวัสดิภาพในชีวิต จำนวน 3 เล่ม ได้แก่
                เล่มที่ 1 เรื่อง  เฉียดความเสี่ยง
                เล่มที่ 2  เรื่อง  หลีกเลี่ยงอันตราย
                เล่มที่ 3  เรื่อง  สุขภาพกับสารเสพติด
                2.. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง สวัสดิภาพในชีวิต  เป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91
                การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ศึกษาได้ดำเนินการทดสอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเรื่อง สวัสดิภาพในชีวิต ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น จำนวน 20 ข้อ และดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดทำขึ้น ควบคู่กับเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง       สวัสดิภาพในชีวิต ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นจำนวน 3 เล่ม 3 เรื่อง  และหลังจากนั้นจึงทดสอบหลังเรียนโดยใช้แบบทดสอบชุดเดิม เสร็จแล้วนำมาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน
               
                ผลการวิจัยพบว่า
                1.  เอกสารประกอบการเรียนสาระการเรียนรู้สุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง        สวัสดิภาพในชีวิต มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 82.00/87.40 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือ  80/80
                2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้เอกสารประกอบการเรียนสูงกว่าก่อนใช้  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05

Klik disini untuk melanjutkan »»

Saturday 14 November 2009

รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ สาระการเรียนรู้ ศิลปะ (สาระดนตรี)

. Saturday 14 November 2009
0 ความคิดเห็น

ชื่อเรื่อง     รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
               สาระการเรียนรู้ ศิลปะ (สาระดนตรี)
ผู้รายงาน   นายสุทิน ไชยนา
หน่วยงาน   โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์) สำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร
ปีที่ศึกษา    พ.ศ. 2550

บทคัดย่อ


การศึกษารายงานครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 
(1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระดนตรี) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 
(2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่สอนโดยใช้แบบฝึกปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์ และกลุ่มที่สอนโดยใช้หนังสือเรียนวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ ของ พว. และ 
(3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะขลุ่ยรี คอร์เดอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษารายงานครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบางชัน(ปลื้มวิทยานุสรณ์) สำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร จำนวน 80 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย 


เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ 
(1) แบบฝึกทักษะปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ใช้เวลาในการทดลอง 18 ชั่วโมง (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ ค่าความยากระหว่าง 0.53-0.65 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.25-0.45 และ 
(3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะปฏิบัติขลุ่ย รีคอร์เดอร์ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติโดยใช้ t-test (Dependent Samples) ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า แบบฝึกทักษะปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.15/82.08 นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยของผู้เรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้ หนังสือเรียนวิชาดนตรี-นาฏศิลป์ ของ พว. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะปฏิบัติขลุ่ยรี คอร์เดอร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยสรุปแบบฝึกทักษะปฏิบัติขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ทำให้นักเรียนรู้สึกกระตือรือร้นต่อการเรียน เรื่องทฤษฎีดนตรีสากลขั้นพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล สามารถนำไปใช้ได้ เป็นแนวทางในการศึกษาเพื่อพัฒนาในเนื้อหาและรายวิชาอื่นต่อไป

Klik disini untuk melanjutkan »»

การพัฒนากระบวนการคิดเพื่อเขียนเรียงความโดยใช้แผนที่ความคิด สาระภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

.
0 ความคิดเห็น

ชื่อเรื่อง       การพัฒนากระบวนการคิดเพื่อเขียนเรียงความโดยใช้แผนที่ความคิด สาระภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร
ผู้รายงาน      นายไพรัช เหลืองอิงคะสุต
โรงเรียน       โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู


บทคัดย่อ

การสอนทักษะการเขียนเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะอย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นทักษะ
ที่ค่อนข้างยาก ปัญหาสำคัญอยู่ที่การขาดความรู้ ประสบการณ์ ความช่างสังเกต ความคิด
การใช้ภาษา และขาดการฝึกฝน แม้ว่าผู้เขียนจะมีพื้นฐานของการเป็นผู้เขียนที่ดีดังกล่าวแล้วทั้งหมด
แต่ถ้าไม่คิดริเริ่มที่จะเขียนและฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ก็คงไม่อาจเป็นผู้เขียนที่ดีได้ เพราะการฝึกฝน
ย่อมช่วยเพิ่มพูนทักษะการเขียนให้ดีขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งนับได้ว่าการเขียนเพื่อพัฒนาการเขียน
หรือเป็นการใช้กระบวนการเขียนพัฒนางานเขียน ทั้งยังเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการเขียนอีกด้วย
การฝึกฝนให้มีกระบวนการคิดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งที่ทำได้ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะทักษะการเขียน
ประเภทเรียงความ จึงเป็นหน้าที่ของครูภาษาไทยที่จะต้องคิดหากลวิธีการสอนและเครื่องมือ
ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อฝึกฝนทักษะการเขียนเรียงความของนักเรียน เพราะผลงานด้านการเขียน
เรียงความของนักเรียน คือการแสดงความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ภาษา ดังนั้น ผู้รายงานจึงได้
พัฒนาการเรียนรู้เรื่องขั้นตอน การวางแผนการเขียนเรียงความ สาระภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 โดยใช้แผนที่ความคิด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนากระบวนการคิดเพื่อเขียนเรียงความ
โดยการใช้แผนที่ความคิด สาระภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มผู้ร่วมในการรายงานการพัฒนาได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน
หนองบัวพิทยาคาร อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 165 คน เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา
ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 6 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่
บันทึกการแสดงความคิดเห็นของผู้เรียนจากการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งกำหนดประเด็น
ในการเขียนแสดงความคิดเห็นไว้ 5 ประเด็น ดังนี้ ความรู้ที่ได้รับ ประโยชน์/การนำไปใช้
กระบวนการ/ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ปัญหา/อุปสรรค/การแก้ไข และความคิดเห็นเพิ่มเติม
และแต่ละประเด็นกำหนดให้ใช้เขียนใน 1 ย่อหน้า บันทึกการปฏิบัติงานของครู และแบบวัด
ความพึงพอใจของผู้เรียน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการเรียนการสอน ได้แก่
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนเรียงความ การพัฒนาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
มีขั้นตอนการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนกำหนดแผนปฏิบัติการ ขั้นตอนปฏิบัติการ ขั้นสังเกต
และขั้นสะท้อนการปฏิบัติ นำข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติในแต่ละวงรอบมาวิเคราะห์และใช้ปรับแผน
ในการพัฒนาวงรอบต่อไป


ผลการศึกษาพบว่า
ในการพัฒนาวงรอบที่ 1 ผลคะแนนเรียงความของผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 69.33
โดยนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 66.66 ในการพัฒนาวงรอบที่ 2 ผลคะแนนเรียงความของผู้เรียน
มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 78.78 และมีผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ100 และในการปฏิบัติกิจกรรม
การเรียนรู้ในการพัฒนาวงรอบที่ 1 พบว่า การเตรียมตัวของผู้รายงานและผู้เรียนยังไม่พร้อม
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นเนื้อหาใหม่ ผู้เรียนส่วนใหญ่ยังไม่มีความสามารถในการเขียน
เรียงความจากประสบการณ์เรื่อง การเล่าเรื่องตนเองแบบร้อยแก้ว ให้ถูกต้องตามจุดประสงค์
การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ได้ เช่น การใช้ย่อหน้าในการเขียน ผลงานการเขียน “แก่นแกน” ของผู้เรียน
ยังมีสิ่งที่ยังต้องแก้ไขเป็นส่วนมาก เช่น การการกำหนดขนาด การใช้สี และการใช้อารมณ์ขัน
ผลงานการเขียนเล่าเรื่องตนเองโดยการใช้แผนที่ความคิด ของนักเรียนบางคนยังขาดความสมบูรณ์
ตามหลักการเขียนแผนที่ความคิด กลุ่มของผู้เรียนบางกลุ่มยังไม่ให้ความร่วมมือและไม่เห็นความสำคัญ
ในการปฏิบัติงานกลุ่ม ส่วนใหญ่จะมีการเกี่ยงกันในกลุ่มในการที่จะส่งตัวแทนออกไปรายงานผลสรุปหน้า ชั้นเรียน ผู้เรียนยังไม่สามารถเปรียบเทียบการเขียนเรียงความจากประสบการณ์เรื่อง
การเล่าเรื่องตนเอง กับการเล่าเรื่องตนเองโดยใช้แผนที่ความคิดได้ เนื่องจากไม่เข้าใจองค์ประกอบ
ของแผนที่ความคิดและองค์ประกอบของเรียงความเพียงพอ ผู้เรียนบางส่วนยังไม่สามารถเขียน
เรียงความได้ เมื่อได้ตรวจสอบการเขียนแผนที่ความคิดแล้วปรากฏว่าแผนที่ความคิดของผู้เรียน
“แก่นแกน” ที่ผู้เรียนเลือกนำมาเขียนนั้นเป็นเรื่องที่ไกลตัว ผู้เรียนเขียนข้อมูลในแผนที่ความคิด
แบบกระจัดกระจาย ไม่เป็นหมวดหมู่ จึงทำให้การเขียนเรียงความมีข้อมูลที่กระจัดกระจายไม่เป็น
หมวดหมู่ด้วย กิจกรรมการเขียนเรียงความพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่เขียนเรียงความโดยใช้องค์ ประกอบของเรียงความในรูปแบบที่เคยชิน คือ จะใช้องค์ประกอบสามส่วน คือ คำนำ เนื้อหา และสรุป
ซึ่งจะทำให้ตอนที่ 2 ส่วนที่เป็นเนื้อหานั้นมีความยาวมากไม่สามารถที่จะแบ่งเนื้อหาได้ชัดเจน ผู้เรียนได้เขียนแสดงความคิดเห็น ไม่เป็นระเบียบ การเขียนวกวน อ่านแล้วเข้าใจได้ยาก ในการพัฒนา
วงรอบที่ 2 ผลการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจในขั้นตอน
ของการเขียนแผนที่ความคิด สามารถเขียนแก่นแกน และแตกแขนงความคิดได้ถูกต้องตามหลักการ
การเขียนแผนที่ความคิด ผู้เรียนเข้าใจการเปรียบเทียบองค์ประกอบของแผนที่ความคิดกับองค์ประกอบ
ของเรียงความ จึงทำให้การเรียงลำดับข้อมูลการเขียนขยายความจากเรื่อง ส่งผลให้ผู้เรียนเขียน
เรียงความได้ดีขึ้น ส่วนคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนเรียงความสูงขึ้นคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 83.33
และผู้เรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้นการพัฒนากระบวนการคิดเพื่อเขียน
เรียงความ โดยใช้แผนที่ความคิด สามารถที่จะช่วยให้ผู้เรียนเขียนเรียงความได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มากขึ้น

Klik disini untuk melanjutkan »»

การพัฒนากระบวนการคิดเพื่อเขียนเรียงความโดยใช้แผนที่ความคิด สาระภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

.
0 ความคิดเห็น

ชื่อเรื่อง       การพัฒนากระบวนการคิดเพื่อเขียนเรียงความโดยใช้แผนที่ความคิด สาระภาษาไทย

                  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร
ผู้รายงาน       นายไพรัช เหลืองอิงคะสุต
โรงเรียน        โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

บทคัดย่อ

การสอนทักษะการเขียนเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะอย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นทักษะ
ที่ค่อนข้างยาก ปัญหาสำคัญอยู่ที่การขาดความรู้ ประสบการณ์ ความช่างสังเกต ความคิด
การใช้ภาษา และขาดการฝึกฝน แม้ว่าผู้เขียนจะมีพื้นฐานของการเป็นผู้เขียนที่ดีดังกล่าวแล้วทั้งหมด
แต่ถ้าไม่คิดริเริ่มที่จะเขียนและฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ก็คงไม่อาจเป็นผู้เขียนที่ดีได้ เพราะการฝึกฝน
ย่อมช่วยเพิ่มพูนทักษะการเขียนให้ดีขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งนับได้ว่าการเขียนเพื่อพัฒนาการเขียน
หรือเป็นการใช้กระบวนการเขียนพัฒนางานเขียน ทั้งยังเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการเขียนอีกด้วย
การฝึกฝนให้มีกระบวนการคิดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งที่ทำได้ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะทักษะการเขียน
ประเภทเรียงความ จึงเป็นหน้าที่ของครูภาษาไทยที่จะต้องคิดหากลวิธีการสอนและเครื่องมือ
ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อฝึกฝนทักษะการเขียนเรียงความของนักเรียน เพราะผลงานด้านการเขียน
เรียงความของนักเรียน คือการแสดงความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ภาษา ดังนั้น ผู้รายงานจึงได้
พัฒนาการเรียนรู้เรื่องขั้นตอน การวางแผนการเขียนเรียงความ สาระภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 โดยใช้แผนที่ความคิด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนากระบวนการคิดเพื่อเขียนเรียงความ
โดยการใช้แผนที่ความคิด สาระภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มผู้ร่วมในการรายงานการพัฒนาได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน
หนองบัวพิทยาคาร อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 165 คน เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา
ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 6 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่
บันทึกการแสดงความคิดเห็นของผู้เรียนจากการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งกำหนดประเด็น
ในการเขียนแสดงความคิดเห็นไว้ 5 ประเด็น ดังนี้ ความรู้ที่ได้รับ ประโยชน์/การนำไปใช้
กระบวนการ/ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ปัญหา/อุปสรรค/การแก้ไข และความคิดเห็นเพิ่มเติม
และแต่ละประเด็นกำหนดให้ใช้เขียนใน 1 ย่อหน้า บันทึกการปฏิบัติงานของครู และแบบวัด
ความพึงพอใจของผู้เรียน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการเรียนการสอน ได้แก่

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนเรียงความ การพัฒนาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
มีขั้นตอนการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนกำหนดแผนปฏิบัติการ ขั้นตอนปฏิบัติการ ขั้นสังเกต
และขั้นสะท้อนการปฏิบัติ นำข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติในแต่ละวงรอบมาวิเคราะห์และใช้ปรับแผน
ในการพัฒนาวงรอบต่อไป
ผลการศึกษาพบว่า
ในการพัฒนาวงรอบที่ 1 ผลคะแนนเรียงความของผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 69.33
โดยนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 66.66 ในการพัฒนาวงรอบที่ 2 ผลคะแนนเรียงความของผู้เรียน
มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 78.78 และมีผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ100 และในการปฏิบัติกิจกรรม
การเรียนรู้ในการพัฒนาวงรอบที่ 1 พบว่า การเตรียมตัวของผู้รายงานและผู้เรียนยังไม่พร้อม
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นเนื้อหาใหม่ ผู้เรียนส่วนใหญ่ยังไม่มีความสามารถในการเขียน
เรียงความจากประสบการณ์เรื่อง การเล่าเรื่องตนเองแบบร้อยแก้ว ให้ถูกต้องตามจุดประสงค์
การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ได้ เช่น การใช้ย่อหน้าในการเขียน ผลงานการเขียน “แก่นแกน” ของผู้เรียน
ยังมีสิ่งที่ยังต้องแก้ไขเป็นส่วนมาก เช่น การการกำหนดขนาด การใช้สี และการใช้อารมณ์ขัน
ผลงานการเขียนเล่าเรื่องตนเองโดยการใช้แผนที่ความคิด ของนักเรียนบางคนยังขาดความสมบูรณ์
ตามหลักการเขียนแผนที่ความคิด กลุ่มของผู้เรียนบางกลุ่มยังไม่ให้ความร่วมมือและไม่เห็นความสำคัญ
ในการปฏิบัติงานกลุ่ม ส่วนใหญ่จะมีการเกี่ยงกันในกลุ่มในการที่จะส่งตัวแทนออกไปรายงานผลสรุปหน้า ชั้นเรียน ผู้เรียนยังไม่สามารถเปรียบเทียบการเขียนเรียงความจากประสบการณ์เรื่อง
การเล่าเรื่องตนเอง กับการเล่าเรื่องตนเองโดยใช้แผนที่ความคิดได้ เนื่องจากไม่เข้าใจองค์ประกอบ
ของแผนที่ความคิดและองค์ประกอบของเรียงความเพียงพอ ผู้เรียนบางส่วนยังไม่สามารถเขียน
เรียงความได้ เมื่อได้ตรวจสอบการเขียนแผนที่ความคิดแล้วปรากฏว่าแผนที่ความคิดของผู้เรียน
“แก่นแกน” ที่ผู้เรียนเลือกนำมาเขียนนั้นเป็นเรื่องที่ไกลตัว ผู้เรียนเขียนข้อมูลในแผนที่ความคิด
แบบกระจัดกระจาย ไม่เป็นหมวดหมู่ จึงทำให้การเขียนเรียงความมีข้อมูลที่กระจัดกระจายไม่เป็น
หมวดหมู่ด้วย กิจกรรมการเขียนเรียงความพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่เขียนเรียงความโดยใช้องค์ ประกอบของเรียงความในรูปแบบที่เคยชิน คือ จะใช้องค์ประกอบสามส่วน คือ คำนำ เนื้อหา และสรุป
ซึ่งจะทำให้ตอนที่ 2 ส่วนที่เป็นเนื้อหานั้นมีความยาวมากไม่สามารถที่จะแบ่งเนื้อหาได้ชัดเจน ผู้เรียนได้เขียนแสดงความคิดเห็น ไม่เป็นระเบียบ การเขียนวกวน อ่านแล้วเข้าใจได้ยาก ในการพัฒนา
วงรอบที่ 2 ผลการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจในขั้นตอน
ของการเขียนแผนที่ความคิด สามารถเขียนแก่นแกน และแตกแขนงความคิดได้ถูกต้องตามหลักการ
การเขียนแผนที่ความคิด ผู้เรียนเข้าใจการเปรียบเทียบองค์ประกอบของแผนที่ความคิดกับองค์ประกอบ
ของเรียงความ จึงทำให้การเรียงลำดับข้อมูลการเขียนขยายความจากเรื่อง ส่งผลให้ผู้เรียนเขียน

เรียงความได้ดีขึ้น ส่วนคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนเรียงความสูงขึ้นคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 83.33
และผู้เรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้นการพัฒนากระบวนการคิดเพื่อเขียน
เรียงความ โดยใช้แผนที่ความคิด สามารถที่จะช่วยให้ผู้เรียนเขียนเรียงความได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มากขึ้น

Klik disini untuk melanjutkan »»

การพัฒนาการจัดการเรียนรู้สาระสุขศึกษาและพลศึกษาหน่วยที่ 4 พัฒนาทักษะกีฬาพัฒนา กำลัง(วอลเลย์บอล) โดยใช้แบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐาน

.
0 ความคิดเห็น

ชื่อเรื่อง     การพัฒนาการจัดการเรียนรู้สาระสุขศึกษาและพลศึกษาหน่วยที่ 4 พัฒนาทักษะกีฬาพัฒนา
               กำลัง(วอลเลย์บอล) โดยใช้แบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอลสำหรับนักเรียนชั้น
               ประถมศึกษาปี ที่ 5 โรงเรียนบ้านโคกกรม ปีการศึกษา 2550
ผู้ศึกษา/ค้นคว้า          อิสรา โสแก้ว
หน่วยงาน                 โรงเรียนบ้านโคกกรม ตำบลจีกแดก อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์
                              สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3
ปีการศึกษา                2550


บทคัดย่อ

รายงานการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สาระสุขศึกษาและพลศึกษา หน่วยที่ 4 พัฒนาทักษะกีฬาพัฒนากำลัง(วอลเลย์บอล) โดยใช้แบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5โรงเรียนบ้านโคกกรม ปีการศึกษา 2550 มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอล สำหรับนักเรียนชั้นระถมศึกษาปีที่ 5 ที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ 80/80 ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอลสำหรับนัก เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้เป็นสื่อหลักประกอบการเรียนการสอน ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอลสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้เป็นสื่อหลักประกอบการเรียนการสอน และ ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้เป็นสื่อหลักประกอบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโคกกรม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 23 คน ที่ได้มาโดยการเลือกทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ แบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนเป็นสื่อหลักที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC : Index of Item – Objective Congruence) (มนสิษ สิทธิสมบูรณ์. 2547. หน้า 110) เท่ากับ 0.96 แบบทดสอบความรู้พื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอลแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ ที่มีความยากง่ายตั้งแต่ 0.24 ถึง 0.76 อำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.48 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับด้วยวิธีของ คูเดอร์ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson procedure)โดยใช้สูตร KR.- 20 เท่ากับ 0.867 แบบทดสอบทักษะขั้นพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา(Content Validity)เท่ากับ 1.00 ซึ่งประกอบไปด้วย แบบทดสอบทักษะการเล่นลูกสองมือล่าง ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.829 ค่าความเป็นปรนัยเท่ากับ 0.821 แบบทดสอบทักษะการเสิร์ฟลูกมือล่าง ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.719 ค่าความเป็นปรนัยเท่ากับ 0.821 และแบบทดสอบทักษะการตบลูกบอลกระทบผนังที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.874 ค่าความเป็นปรนัยเท่ากับ 0.832 แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบมาตราประมาณค่า ชนิด 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.90 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ จากการวิเคราะห์ ตามวิธีของ ครอนบัค (Cronbach alpha procedure) เท่ากับ 0.716 แบบวัดความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬา วอลเลย์บอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบมาตราประมาณค่า ชนิด 5 ระดับจำนวน 10 ข้อ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับจากการวิเคราะห์ตามวิธีของ ครอนบัค (Cronbach alpha procedure) เท่ากับ 0.850 สถิตที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการพัฒนา ปรากฏผลดังนี้
1.  แบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 84.64/82.77 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
2.  ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.5440 หมายความว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนเท่ากับ 0.5440 หรือ คิดเป็นร้อยละ 54.40.
3.  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬาวอลเลย์บอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบการเรียนการสอนเป็นสื่อหลักในการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก
4.  ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกทักษะขั้นพื้นฐานกีฬา วอลเลย์บอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบการเรียนการสอนเป็นสื่อหลักในการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด

Klik disini untuk melanjutkan »»

รายงานการใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง สมการ และการแก้สมการ

.
0 ความคิดเห็น

หัวข้อรายงาน             รายงานการใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้    
                                   คณิตศาสตร์เรื่อง สมการ และการแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6     
                                  ปีการศึกษา 2551   
ชื่อผู้เสนอรายงาน       นายเจน  สนิทวงศ์     ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการ         
                                  โรงเรียนอนุบาลเถิน(ท่านางอุปถัมภ์)  อำเภอเถิน  จังหวัดลำปาง       
                                   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง   เขต  2    

บทคัดย่อ

                 การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดแบบฝึกทักษะพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้  คณิตศาสตร์เรื่อง สมการ และการแก้สมการ                        ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 80/80  ศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนกลุ่มสาระ      การเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการ และการแก้สมการ ของนักเรียนที่ใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้  คณิตศาสตร์เรื่อง สมการ และการแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ ศึกษาหาระดับความสนใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาผล สัมฤทธิ์การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องสมการ และการแก้สมการชั้นประถมศึกษา   ปีที่ 6  กลุ่มทดลองเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนอนุบาลเถิน (ท่านางอุปถัมภ์)         อำเภอเถิน  จังหวัดลำปาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง   เขต  2   จำนวน  1  ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น  30   คน กลุ่มตัวอย่างได้รับการสอนโดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้  คณิตศาสตร์เรื่อง สมการ และการแก้สมการ  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้ วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และหาค่าทางสถิติได้แก่ค่าประสิทธิภาพชุดแบบฝึกทักษะพัฒนาผลสัมฤทธิ์การ เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้  คณิตศาสตร์เรื่อง สมการ และการแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ความยากง่ายของแบบทดสอบและค่าเฉลี่ยร้อยละของความถึงพอใจ โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม Statistical Package for the Social Science/Personal Computer Plus (SPSS/PC+)  

ผลการวิจัยพบว่า  

ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้  คณิตศาสตร์เรื่อง สมการ และการแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีประสิทธิภาพ 83.53/82.10 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้  และผลสัมฤทธิ์การเรียน เรื่อง สมการ และการแก้สมการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ภายหลังการใช้  ชุดแบบฝึกทักษะพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้  คณิตศาสตร์เรื่อง สมการ และการแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  สูงกว่าก่อนการใช้ชุดแบบฝึกทักษะพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้  คณิตศาสตร์เรื่อง สมการ และการแก้สมการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ระดับความสนใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้  คณิตศาสตร์เรื่อง สมการ และ การแก้สมการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีความสนใจอยู่ในระดับมาก

Klik disini untuk melanjutkan »»

การพัฒนาชุดการสอน เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม รหัสวิชา ค 43201

.
0 ความคิดเห็น

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่องงานวิจัย:  การพัฒนาชุดการสอน  เรื่อง  การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น  กลุ่มสาระการเรียนรู้ 

                            คณิตศาสตร์  รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม  รหัสวิชา ค 43201  ของนักเรียนชั้นมัธยม
                            ศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนผักไหมวิทยานุกูล  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ  เขต 2
ชื่อผู้วิจัย             :  นางสาวปรีดาภรณ์  จันทร์สว่าง
ปีการศึกษา         :  2551

   การ วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  คือ 

1)  เพื่อสร้างชุดการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม  รหัสวิชา ค 43201  เรื่อง  การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น  
2)  เพื่อหาประสิทธิภาพชุดการสอน  รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม  รหัสวิชา  ค 43201  เรื่อง  การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น  
3)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอน  รายวิชา  ค 43201  เรื่อง  การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น
   เครื่องมือในการวิจัย ครั้งนี้  ประกอบด้วย  ชุดการสอนประเภทศูนย์การเรียน  และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ซึ่งมีการตรวจสอบคุณภาพของชุดการสอนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน  75/75
   การ ดำเนินการวิจัย  ประกอบด้วย  3  ขั้นตอน  คือ  

1)  การทดลองขั้นหนึ่งต่อหนึ่ง  
2)  การทดลองขั้นกลุ่มเล็ก  
3)  การทดลองขั้นกลุ่มใหญ่  เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  จำนวน 62  คน  เพื่อนำมาหาประสิทธิภาพ  หลังจากนั้นจึงนำชุดการสอนมาทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างในการทดลองครั้งนี้  ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1  จำนวน 32   คน  การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย  โดยวิธีจับฉลาก  เมื่อทดลองเสร็จแล้ว  นำคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนมาเปรียบเทียบความแตกต่าง
   ผลการวิจัยพบ ว่า 

1)  ชุดการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม  รหัสวิชา  ค 43201  เรื่อง  การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น  ที่ใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนผักไหมวิทยานุกูล  มีประสิทธิภาพ  82.33/83.50  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน  75/75  
2)  นักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการสอน  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทีระดับ .05

Klik disini untuk melanjutkan »»

รายงานการใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม The Geometer’s Sketchpadในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เรื่องพาราโบลา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

.
0 ความคิดเห็น

 ชื่อเรื่อง       รายงานการใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad   

              ในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เรื่องพาราโบลา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
            โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม
ชื่อผู้รายงาน  นายพีระพงศ์  สิรสุนทร
ปีที่รายงาน   2550


บทคัดย่อ



                      การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม   The Geometer’s Sketchpad   ในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์   เรื่องพาราโบลา     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อการใช้สื่อการเรียนรู้
                      กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์- คณิตศาสตร์ โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โดยให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 เรียนรวมทั้งสิ้น 59 คน   เครื่องมือที่ใช้ในการรายงานได้แก่      สื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad ในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เรื่องพาราโบลา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบทดสอบวัดความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เรื่องพาราโบลา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบอัตนัย จำนวน 10 ข้อ และแบบปรนัยจำนวน 10 ข้อแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนจากการใช้สื่อการเรียนรู้การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยทำแบบทดสอบวัดความคิดรวบยอด และแบบสอบถามความคิดเห็น
หลังจากเรียน เรื่องพาราโบลา โดยใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad 
วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที
               ผลการรายงานพบว่า
           1)สื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad ในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เรื่องพาราโบลา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  มีประสิทธิภาพ 84.58/82.41 
 สูงกว่าเกณฑ์ 70/70 ที่กำหนดไว้                  
          2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องพาราโบลา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 
หลังจากการเรียนโดยใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม  The Geometer’s Sketchpad ในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
           3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทำแบบทดสอบหลังการเรียน โดยใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad ในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ เรื่องพาราโบลา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าเกณฑ์ 70% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 
       4)ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการใช้สื่อการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad  ในการสร้างความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์  เรื่องพาราโบลา  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก

Klik disini untuk melanjutkan »»

รายงานผลการพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

.
0 ความคิดเห็น

บทคัดย่อ
หัวข้อวิจัย          รายงานผลการพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
                       โรงเรียนวัดวังสวัสดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 1
ผู้วิจัย                ปรารถนา เหมือนเตย
ปีการศึกษา         2551




การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 เล่ม เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน จำนวน 5 เล่ม โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้หนังสือส่องเสริมการอ่าน เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ซึ่ง กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนวัดวังสวัสดี จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ หนังสือส่งเสริมการอ่าน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และหาค่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบแผนการทดลองโดยใช้กลุ่มเดียวทดสอบก่อน - หลัง (One - Group Pretest- Posttest Design) (t-test) วิเคราะห์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS for Windows




ผลการศึกษาพบว่า


ด้านประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่ผู้รายงานสร้างขึ้น ผลการศึกษาพบว่ามีประสิทธิภาพ 87.20/94.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ระดับ 80/80
ด้าน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยหลังเรียนนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 23.50 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการทดสอบค่าที (t - test) พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ อาจเป็นเพราะผู้รายงานมีการวางแผนมุ่งเน้น การ เรียนการสอนโดยยืดผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านให้เกิดความน่าสนใจตั้งแต่รูปเล่มจนถึงภาพ ประกอบเนื้อหาสีสันสวยงามน่าอ่าน และคอยเอาใจใส่แนะนำส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตน
ด้านความ พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่านพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่าน อยู่ในระดับดีมากทุกข้อ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน

Klik disini untuk melanjutkan »»

Friday 23 October 2009

การศึกษาการใช้ชุดการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ เรื่องประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา

. Friday 23 October 2009
0 ความคิดเห็น

บทคัดย่อ


ชื่อเรื่อง             การศึกษาการใช้ชุดการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ เรื่องประชาธิปไตย
                          ในพระพุทธศาสนา
ชื่อผู้วิจัย             นางสุกัลยา เสือจำศิลป์
                          โรงเรียน บางไทรวิทยา อำเภอบางไทร
ประเภทผลงาน   วิจัยในชั้นเรียน


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของการใช้ชุดการสอน โดยการโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ 80 :80 และศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนเรื่องประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ที่เรียนวิชา ส 42101 สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 ของโรงเรียนบางไทรวิทยา อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดการสอนเรื่องประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน จำนวน 5 ข้อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีแบบแผนการวิจัย One – Group Pretest Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า การใช้ชุดการสอนในการพัฒนาทักษะการเรียนรูเรื่องประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 มีประสิทธิภาพของกระบวนการต่อประสิทธิภาพของผลลัพธ์โดยรวม เป็น 88.13 : 83.20 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และพบว่านักเรียนมีคะแนนความก้าวหน้าสูงเกินกว่าร้อยละ 15 ของคะแนนเต็มทุกคน โดยมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 นอกจากนี้ยังพบว่านักเรียนส่วนมากมีความคิดเห็นต่อการใช้ชุดการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.59, SD. = 0.34 ) ในทุกรายการที่ประเมิน

Klik disini untuk melanjutkan »»

รายงานพัฒนาการเรียนการสอนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

.
0 ความคิดเห็น

บทคัดย่อ


ชื่อเรื่อง                 รายงานพัฒนาการเรียนการสอนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
                             ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย               นางเบญจมาศ ดำเนิน
                             โรงเรียน วัดนาคสโมสร(โบราณญาณบำรุง) อำเภอบางไทร
ประเภทผลงาน      วิจัยเต็มรูปแบบ (5 บท)


วัตถุประสงค์ 
1. เพื่อยกระดับมาตรฐานการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้สูงขึ้นใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยระดับชาติ
2. เพื่อแสวงหาวิธีการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมในการพัฒนาการเรียนการสอน
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
วิธีดำเนินการวิจัย 1. วิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
2. จัดกิจกรรมค่ายวิชาการนอกเวลาปกติวันละ 3 ชั่วโมง
3. จัดทำแบบฝึกหัด
4. จัดหาสื่อผสมเช่น เกม สถานการณ์จำลอง
5. ศึกษา ค้นคว้า ข้อมูล และหรือ สืบค้น จากคอมพิวเตอร์
ประชากร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนวัดนาคสโมสรฯระยะเวลา ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือน ธันวาคม 2547
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย จากการจัดกิจกรรมพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อยกระดับมาตรฐานการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อให้ค่า (NT) สูงขึ้น และ เพื่อแสวงหาวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนที่เหมาะสมในการพัฒนาการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมโดยใช้แบบฝึกหัด สื่อผสม และสถานการณ์จำลอง มาสอนนักเรียนนอกเวลาเรียน ตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 ผลการการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพสามารถพัฒนา การเรียนการสอนให้มีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น ตามหลักการและวิธีคิดที่ใช้การฝึกฝนอย่างหลากหลาย คือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นจากปีการศึกษา 2546 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 29.375 ปีการศึกษา 2547 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 34.15 พิจารณาความต่างอย่างมีนัยสำคัญเท่ากับ 4.78

Klik disini untuk melanjutkan »»

วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2547

.
0 ความคิดเห็น

บทคัดย่อ


ชื่อเรื่อง         วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2547
ชื่อผู้วิจัย        นางเบญจมาศ ดำเนิน
                       โรงเรียน วัดนาคสโมสร(โบราณญาณบำรุง) อำเภอบางไทร
ประเภทผลงาน วิจัยในชั้นเรียน


วัตถุประสงค์ 1. เพื่อทราบระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาสังคมศึกษา
2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
หลังเรียนวิชา สังคมศึกษาโดยใช้วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง
วิธีการดำเนินการวิจัย 1. ศึกษาหลักสูตร เป้าหมายและผลการเรียนรู้ของวิชาสังคมศึกษา
2. จัดทำแผนการสอนโดยกำหนดให้มีวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง
3. จัดกลุ่มนักเรียนเพื่อเรียนรู้และศึกษาค้นคว้าตามแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง
4. สร้างแบบทดสอบ
5. จัดทำสื่อเพื่อใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้
6. จัดกิจกรรมการเรียนด้วยวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง
7. ทดสอบหลังเรียน
8. วิเคราะห์ผลการการทดสอบ
ประชากร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดนาคสโมสร ฯ จำนวน 6 คน ชาย 4 คน หญิง 2 คน
ระยะเวลาในการทำวิจัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2547
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากวิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเองของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2547 พบว่ามีค่าคะแนนเฉลี่ย 40.384 ซึ่งสูงกว่า ค่าการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน NT ปีการศึกษา 2546 ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 29.375 กล่าวอย่างมีนัยสำคัญว่าค่าเฉลี่ยสูงขึ้นเท่ากับ 11.009 ซึ่งถือว่าเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง และสมควรที่จะมีวิธีการสอนแบบศึกษาด้วยตนเองอีกต่อไป

Klik disini untuk melanjutkan »»

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

.
0 ความคิดเห็น


บทคัดย่อ


เรื่อง          การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

   วิชา   ส 0210  ประวัติศาสตร์ยุคประชาธิปไตย  เรื่อง  การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย 
   ..2475
ชื่อผู้วิจัย   นางคนึงนิจ   วิภารัตน์                   
โรงเรียน    ผักไห่  สุทธาประมุข”                   อำเภอผักไห่        
ประเภทผลงาน     วิจัยในชั้นเรียน

                                การวิจัยครั้งนี้  เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนวิชา  ส0210 เรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย พ..2475) โดยใช้     วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน
                                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้น ม.3/1  ภาคเรียนที่ 2               ปีการศึกษา 2546  โรงเรียนผักไห่ สุทธาประมุข”  จำนวน 35 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล  ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย                         ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วย  t-test
                                ผลการวิจัย  พบว่า
                                1.  การประเมินผลก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงานหลังสอนมีผลทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ผลทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ  0.01
                                2.  การประเมินผลหลังเรียนด้วยวิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน มีค่าการกระจายของคะแนนน้อยกว่า การประเมินผลก่อนเรียน
                                3. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน เพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้นและยังทำให้นักเรียนสามารถบรรลุจุดประสงค์การเรียนได้ในระดับที่ใกล้เคียงกัน

Klik disini untuk melanjutkan »»
 
Namablogkamu is proudly powered by Blogger.com | Template by o-om.com | Gorgeous Beaches of Goa